Skip to content

ผลิตภัณฑ์ OTOP

คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2562

การดำเนินงานโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP Product Champion)  เป็นกิจกรรมหนึ่งของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  เพื่อจัดระดับผลิตภัณฑ์ที่จะนำไปสู่การพัฒนา  ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนดำเนินการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP Product Champion)  ต่อเนื่องจากการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546  เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ได้มีโอกาสพัฒนาให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป จนสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีมาตรฐาน ในระดับสากล

1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อจัดระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์  (Product  Development)
1.2 เพื่อจัดระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Profile) ที่จะใช้ในการทำงานเชิงบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.3 เพื่อประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป จนสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน
1.4 เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

2. กรอบการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย
2.1 สามารถส่งออกได้ (Exportable) โดยมีความแกร่งของตราผลิตภัณฑ์ (Brand Equity)
2.2 ผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistent)
2.3 ความมีมาตรฐาน (Standardization) โดยมีคุณภาพ (Quality) และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า (Satisfaction)
2.4 มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product) ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนเชิงพื้นที่

3. ประเภทผลิตภัณฑ์ที่เข้าคัดสรรฯ
3.1 ประเภทอาหาร
3.2 ประเภทเครื่องดื่ม
3.3 ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย
3.4 ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
3.5 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

4. การจัดระดับผลิตภัณฑ์
4.1 ระดับ 5 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 90 -100 คะแนน) เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน หรือมีศักยภาพในการส่งออก
4.2 ระดับ 4 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 80 – 89 คะแนน) เป็นสินค้าที่มีศักยภาพ เป็นที่ยอมรับระดับประเทศ และสามารถพัฒนาสู่สากล
4.3 ระดับ 3 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 70 – 79 คะแนน) เป็นสินค้าที่มีคุณภาพระดับกลางที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 4 ดาวได้
4.4 ระดับ 2 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 50 – 69 คะแนน) เป็นสินค้าที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 3 ดาว มีการประเมินศักยภาพเป็นระยะ
4.5 ระดับ 1 ดาว (ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน) เป็นสินค้าที่ไม่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 2 ดาวได้ เนื่องจากมีจุดอ่อนมาก และพัฒนายาก

หมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

ข้อกําหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้าง ความมั่นใจให้ับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์
โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด และสอดคล้องกับนโยบาย OTOP
“เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)” ในการรับรองคุณภาพผลิตภณฑ์ชุมชน (มผช.) นั้นผู้รับรอง คือ สมอ. การรับรองไม่ยุ่งยากซับซ้อน
และต่างจากการให้การ รับรอง เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการ รับรองคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
ของ สมอ. ซึ่งเป็นข้อกำหนดด้านคุณภาพ ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้สินค้าเป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้าง ความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการ
เลือก ซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับ คุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และสอดคล้องกับ นโยบาย OTOP.

ประโยชน์ที่ได้รับจาก มผช.
√ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความเข้าใจ และมีความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
√ สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
√ สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ต้องการของตลาด
√ สามารถนำผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร OTOP Product Champion (ระดับดาว)
√ ได้รับการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ผ้า/งานประดิษฐ์จากผ้า/เสื้อผ้า ที่มีมาตรฐาน ลิตภัณฑ์ชุมชน ลักษณะทั่วไป
√ ต้องอยู่สภาพเรียบร้อยตลอดชิ้นงาน ประณีต สวยงาม ไม่เปรอะเปื้อน
√ ต้องไม่ปรากฏข้อบกพร่องให้เห็นเด่นชัด ผ้าเป็นรูหรือขาด รอยต่อและริม ผ้าหลุดลุ่ย มีปลาย
เส้นด้ายโผล่ออกมา
*ส่วนข้อบกพร่องอื่นๆ อันเกิดจากกรรมวิธีการทำด้วยมือต้องมีน้อยที่สุดและเป็นที่ยอมรับได้*
√ รูปทรงและสัดส่วน ต้องไม่บิดเบี้ยว เกรนผ้าถูกต้อง สมส่วน ไม่ย่นตึง หรือรั้ง

การเย็บ
√ สีของด้ายต้องใช้สีเดียวกันกับสีของผ้าหรือใช้สีให้กลมกลืนมากที่สุด และเป็นที่ยอมรับได้
ขนาดของเส้นด้ายต้องเหมาะสมกับเนื้อผ้า
√ ฝีจักรหรือฝีเข็ม ต้องไม่ถี่หรือห่างเกินไปและไม่ข้ามกระโด
√ ริมตะเข็บด้านในต้องไม่หลุดลุ่ย ตะเข็บต้องไม่มีรอยแยกหรือขาด
√ การสอย ต้องประณีต ไม่ปรากฏเส้นด้านบนผ้าด้านถูกอย่างชัดเจน
√ การต่อลวดลายของผ้า เช่น ผ้าตา ผ้าลายทางต้องตรงกัน (ยกเว้นกรณีเป็นลักษณะเฉพาะของ
ชิ้นงาน )

ซับใน(ถ้ามี)
√ สีของซับในต้องเป็นสีเดียวกันหรือกลมกลืนกับผ้าตัวนอก และไม่ตรึงรั้งจนเสียรูปทรง

วัสดุเกาะเกี่ยว
√ ต้องอยู่ในสภาพดี แข็ง แรง ทนทาน เหมาะสมกับแบบและเนื้อผ้ากรณีเป็นโลหะต้องไม่เป็นสนิม

การตกแต่งด้วยวัสดุอื่น (ถ้ามี)
√ ต้องประณีตเรียบร้อย สวยงาม แข็งแรง ติดแน่นคงทนและเหมาะสมกันชิ้นงาน

สี
√ มีสีตกอยู่ในน้ำได้เพียงเล็กน้อย

ขนาด
√ ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ได้ไม่เกินบวกลบ 1 นิ้ว หรือ2.5
เซนติเมตร

การใช้งาน
√ ต้องสามารถใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ หรือถ้าเป็นเสื้อผ้าต้องสามารถสวมใส่ได้อย่างเหมาะสม

การบรรจุ (การบรรจุภัณฑ์)
√ หากมีการบรรจุให้บรรจุในหีบห่อที่สะอาด แห้งเรียบร้อย และสามารถป้องกันความเสียหายที่เกิด
ขึ้นกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ

เครื่องหมายและฉลาก
ที่ฉลากหรือหีบห่อผลิตภัณฑ์ทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีตัวเลข อักษรหรือเครื่องหมายแจ้ง รายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน
1. ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น กล่องทิชชู่ผ้าบาติก ตุ๊กตาไหม เสื้อสตรี
2. ขนาด
3. เดือนปีที่ทำ
4. ข้อแนะนำในการใช้ และการดูแลรักษา
5. ชื่อผู้ผลิต หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียน ในกรณีที่ใช้ ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น

Bangkok Brand สุดยอดผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร